14 ธันวาคม 2565

เอกสารหลักฐานการยื่นประกันตัว

เอกสารหรือหลักฐานการยื่นประกันตัวจำเลยในศาล

            เมื่อศาลรับฟ้องคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดี ผู้ต้องหาจะตกเป็นจำเลยทันที หรือกรณีที่ประชาชนฟ้องคดีอาญาเองภายหลังจากที่ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วศาลมีคำสั่งว่าคดีมีมูลและศาลประทับรับฟ้องผู้ต้องหาจะตกเป็นจำเลยทันที คดีอาญานั้นมีโทษจำคุก หากจำเลยไม่ประกันตัวก็ต้องถูกคุมขังในเรือนจำจนกว่าการพิจารณาคดีจะเสร็จสิ้น แต่หากจำเลยต้องการจะประกันตัวโดยไม่ต้องถูกคุมขังก็สามารถทำได้ โดยมีหลักฐานการประกันตัว รายละเอียดดังต้อไปนี้

         กรณีใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสด

            1. สำเนาบัตรประชาชนของจำเลย ของผู้ขอประกัน ถ่ายเอกสาร 1 ชุด

            2. สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย ของผู้ขอประกัน ถ่ายเอกสาร 1 ชุด


        กรณีใช้หลักทรัพย์เป็นที่ดิน

            1. โฉนดที่ดิน หรือ น.ส. 3 ก. พร้อมราคาประเมินในปีปัจจุบัน (ราคาประเมินไม่เกิน 1 เดือน)

            2. สำเนาบัตรประชาชนของจำเลย ของผู้ขอประกันและคู่สมรสของผู้ขอประกัน  ถ่ายเอกสาร 1 ชุด

            3. สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย ของผู้ขอประกันและคู่สมรสของผู้ขอประกัน ถ่ายเอกสาร 1 ชุด

            4. นำคู่สมรสของผู้ขอประกันมาลงชื่อให้ความยินยอมที่ศาล

            5. กรณีที่คู่สมรสไม่สามารถมาเซ็นชื่อยินยอมที่ศาลได้ต้องมีหนังสือยินยอมมายื่นต่อศาลด้วย (รับแบบฟอร์มหนังสือให้ความยินยอมที่ศาล)

            6. เขียนแผนที่ที่ตั้งทรัพย์ที่นำมาประกัน (ต้องบอกจุดใกล้เคียงที่ตั้งทรัพย์ให้สามารถเดินทางไปถึงที่ตั้งทรัพย์ได้)

            7. รูปถ่ายที่ตั้งทรัพย์ให้มีรูปผู้ขอประกันด้วย ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน

    *** หมายเหตุ กาณีใช้หลักทรัพย์มาประกัน หากจำเลยผิดสัญญาประกันและศาลได้มีการยึดทรัพย์ขายนำเงินมาชำระหนี้ หากเงินไม่พอศาลมีอำนาจยึดทรัพย์อื่นของนายประกันมาชำระหนี้จนกว่าจะครบค่าปรับ


        กรณีใช้ตำแหน่ง

            1. หนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงฐานะตำแหน่งและอัตราเงินเดือน ถ้าเป็นข้าราชการครูขอจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเท่านั้น พร้อมรับรองสำเนา 1 ชุด

            2. สลิปเงินเดือนเดือนสุดท้าย 1 ชุด

            3. สำเนาบัตรประชาชนของจำเลย ของผู้ขอประกันและสำเนาบัตรข้าราชการและสำเนาบัตรคู่สมรสของผู้ขอประกัน ถ่ายเอกสาร 1 ชุด

            4. สำเนาทะเบียนบ้าน ถ่ายเอกสาร 1 ชุด

            5. นำคู่สมรสของผู้ขอประกันมาลงชื่อยินยอมที่ศาล

            6. กรณีที่คู่สมรสไม่สามารถมาเซ็นชื่อยินยอมที่ศาลได้ต้องมีหนังสือยินยอมมายื่นต่อศาลด้วย (รับแบบฟอร์มหนังสือให้ความยินยอมที่ศาล)

            7. เขียนแบบฟอร์มรับรองความผูกพันกับจำเลยและรายได้

            8. ในกรณีที่ใช้ตำแหน่งเป็นหลักประกัน ผู้ขอประกันต้องแสดงหลักทรัพย์อื่นต่อศาลโดยแนบสำเนาหลักทรัพย์อื่น ๆ เช่น โฉนดที่ดิน น.ส.3 ก. สำเนาคู่มือรถยนต์ จักรยานยนต์ สำเนาสมุดเบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งต้องเป็นของผู้ขอประกันเท่านั้น

            9. ในกรณีที่ใช้ตำแหน่งเป็นหลักประกัน ผู้ขอประกันต้องมีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกับจำเลยโดยเกี่ยวพันธ์โดยสายเลือด หรือทางสมรสเท่านั้น หากกรณีเป็น สท สจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประกันจำเลยได้เฉพาะผู้ที่อยู่ในท้องที่การปกครองของตนเท่านั้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น